วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550

—•ฮะ....ฮะ....ฮาร์ดแวร์~

ยุคของคอมพิวเตอร์
ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน ( MARK I ) , อีนิแอค ( ENIAC ) , ยูนิแวค ( UNIVAC )



มาร์ควัน อินิแอค ยูนิแอค


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม ( Integrated Circuit : IC ) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก( Very Large Scale Integration : VLSI ) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI ) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง


วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันนี้นำเสนอเรื่องปลาวาฬบ่อนอกคร๊าบ(^_^)





ภาพเหล่านี้ เราได้รับความอนุเคราะห์จากกลุ่มพลังงานทางเลือกเป็นภาพถ่ายที่นักท่องเที่ยวและบรรดาช่างภาพทั้งหลาย ช่วยกันถ่ายไว้TalayThai.com จึงขออนุญาตนำมาเปิดเผย ให้ชาวเราที่ไม่มีโอกาสไปได้รับทราบว่าที่บ่อนอกมีวาฬจริงๆนะ ผมเจอแล้วสองครั้ง เป็นวาฬบรูด้าแน่นอนจากลักษณะสันหัว 3 สัน อันเป็นลักษณะพิเศษของวาฬชนิดนี้









ภาพเหล่านี้ยังบ่งบอกว่า วาฬมาบ่อนอกเพื่อกินอาหารไม่ได้มาว่ายน้ำเล่นหรือเป็นวาฬพลัดถิ่นหนีมรสุมเข้ามาลักษณะของทะเลบ่อนอกคงมีปัจจัยอะไรบางประการที่พิเศษ เช่น ความลึกของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของฝูงปลา ทำให้วาฬชอบจริงจังผมคงได้เขียนเรื่องนี้โดยละเอียดในไม่ช้า









น่าแปลกใจที่มีภาพถ่าย วิดีโอ และผู้คนเห็นขนาดนี้แล้วบางคนและบางหน่วยงานยังไม่ยอมรับสักที เวลาผ่านมาตั้งสามเดือนแล้วไงๆ ก็ตาม เราจะพยายามทำหน้าที่ต่อไปสุดความสามารถ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง และผ่านทาง TalayThai.com




ว่าแต่...ช่วยกันหน่อยนะครับ ส่งภาพเป็นอีการ์ดให้เพื่อนให้ฝูงดูกันบ้างนำภาพเป็นวอลเปเปอร์บ้าง สักวัน EIA ฉบับที่ระบุว่าไม่มีสัตว์หายากที่บ่อนอกจะได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสักทีทั้งนี้ขึ้นกับความใส่ใจและความร่วมมือร่วมใจของพวกเราทุกคน